เม.ย. 2568

ประกันสุขภาพสำหรับคน GEN ใหม่ เจ็บป่วยตอนไหนก็รักษาได้แบบไม่ต้องกังวล

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับประกันสุขภาพกันมากขึ้น เพราะการมีประกันช่วยให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด ไม่ว่าจะโรคเล็กหรือโรคร้าย เมื่อเกิดการเจ็บป่วยก็สามารถเข้ารับการรักษาได้แบบไม่ต้องกังวล ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและช่วยให้อุ่นใจขึ้นได้ วันนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกันแบบประกันที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่โรคเล็กไปถึงโรคร้าย ใช้ลดหย่อนภาษีได้ และพาไปทำความรู้จักกับเงื่อนไขใหม่อย่าง Copayment
บทความนี้.. มีอะไรบ้าง

แนะนำประกันสุขภาพสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ครอบคลุมตั้งแต่โรคเล็กไปถึงโรคแรง

ประกันสุขภาพออนไลน์ โครงการ D Health เบาใจ เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่เหมาะสำหรับคนรุ่นใหม่ เพราะให้ความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายสูงสุด 5 ล้านบาท(1) คุ้มครองในกรณีผู้ป่วยใน (IPD) โดยไม่ต้องสำรองจ่าย(2) ครอบคลุมตั้งแต่โรคเล็ก ๆ ไปจนถึงโรคร้าย เป็นประกันสุขภาพที่ดูแลตั้งแต่บาทแรก ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความคุ้มค่า สะดวก และรวดเร็ว


จุดเด่นของ โครงการเมืองไทย D Health เบาใจ

  1. แอดมิต (IPD) เหมาจ่ายสูงสุด 5 ล้านบาท(1) วงเงินเดียวทั้งค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่ายา ค่ารักษา ค่าผ่าตัด
  2. คุ้มครองครอบคลุมตั้งแต่โรคเล็กไปถึงโรคแรง
  3. เบี้ยเดือนละไม่ถึง 1,778 บาท(3)
  4. ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล(2)
  5. ไม่ต้องตรวจสุขภาพ เพียงตอบคำถามสุขภาพ(4)
  6. นำไปลดหย่อนภาษีได้
  7. ซื้อออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://online.muangthai.co.th


ทำไมคน Gen ใหม่ถึงให้ความสนใจสุขภาพ

  1. ช่วยลดภาระทางการเงิน ช่วยให้มีเงินเหลือไปใช้ในด้านอื่น ๆ ไม่กระทบกับเงินเก็บและไม่เดือดร้อนเงินในอนาคต
  2. ช่วยให้วางแผนสุขภาพและการเงินได้ง่ายขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็สามารถเข้ารับการรักษาได้โดยไม่เป็นภาระของผู้อื่นและไม่กระทบเงินในกระเป๋า เจ็บคนเดียวแต่ไม่ต้องกลัวล้มทั้งบ้าน
  3. อุบัติเหตุและโรคภัยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเดินทางหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ การมีประกันจึงช่วยให้มั่นใจได้ว่าหากเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันที
  4. การรักษาทางการแพทย์มีแนวโน้มที่สูงขึ้น โรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ มีค่ารักษาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ค่าผ่าตัด ค่าห้องพัก และค่าตรวจรักษาต่าง ๆ
  5. ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ หลายแผนประกันสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ช่วยให้ประหยัดได้มากขึ้น


ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ จะทำให้ตัวเองหรือพ่อ - แม่ก็ใช้ลดหย่อนได้

การทำประกันสุขภาพไม่เพียงแต่ช่วยคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย สำหรับผู้ที่ทำประกันให้ตนเองสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพไปใช้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี และสำหรับใครที่ทำประกันให้พ่อ - แม่ก็สามารถใช้ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าพ่อ - แม่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีอายุเกิน 60 ปี


ประกันสุขภาพ Copayment เคลมไม่ถึงไม่ต้องจ่าย

ในวันที่ 20 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมานี้ ประกันสุขภาพที่มีผลคุ้มครองนับตั้งแต่วันดังกล่าวนี้ ในประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญด้วยการนำเงื่อนไข "Copayment" หรือ "การร่วมจ่าย" มาใช้ ทำให้หลายคนรู้สึกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ โดยรายละเอียดของ Copayment นั้นเป็นอย่างไรมาดูกัน


Copayment คืออะไร

คือ การร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยผู้เอาประกันภัย และบริษัทประกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในสัดส่วน ที่กำหนด เช่น ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท ถ้าผู้เอาประกันเข้าเงื่อนไข Copayment ที่กำหนด มีข้อกำหนดจะต้องร่วมจ่ายคือ 30% เท่ากับ 30,000 บาท และบริษัทประกันจะจ่าย 70% เท่ากับ 70,000 บาท ทั้งนี้สัดส่วนขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่กำหนด


ใครบ้างที่จะเข้าเงื่อนไข Copayment ได้

Copayment จะปรับเปลี่ยนได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การเคลมการร่วมจ่าย Copayment ผู้เอาประกันจะถูกเก็บประวัติการเคลมไว้เพื่อพิจารณาร่วมจ่ายในปีถัดไป ไม่ต้องร่วมจ่ายตั้งแต่การเคลมครั้งแรก แต่จะร่วมจ่ายในกรณีที่มีการเคลมประกันเข้าเงื่อนไข Copayment เท่านั้น หากการเคลมไม่เข้าเงื่อนไขในปีนั้น ผู้เอาประกันก็ไม่ต้องร่วมจ่ายในปีถัดมา โดยบริษัทจะพิจารณาทุกรอบปีกรมธรรม์ แต่ถ้าเคลมไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดก็จะไม่เข้าเงื่อนไข ผู้เอาประกันภัยก็จะไม่ต้องร่วมจ่าย


ซึ่งปัจจุบันจะถูกพิจารณาเฉพาะกรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) เท่านั้น และสำหรับประกันสุขภาพที่กำหนด ที่มีผลคุ้มครองนับตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป จะมีเงื่อนไข Copayment ดังกล่าว แต่ประกันสุขภาพที่มีผลความคุ้มครองก่อนหน้า จะไม่มีเงื่อนไขดังกล่าว


เกณฑ์การเข้าเงื่อนไขร่วมจ่าย Copayment ที่ควรรู้

  1. กรณีการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) หากมีการเคลมค่ารักษาโรคที่ไม่รุนแรงหรืออาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมรวมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย หรือ ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) 30% ของทุกค่ารักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป หรือ
  2. กรณีการเจ็บป่วยทั่วไป หากมีการเคลมค่ารักษาโรคทั่วไป แต่ไม่รวมการผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) และโรคร้ายแรง (Critical illness) มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้งต่อปีกรมธรรม์ และอัตราการเคลมรวมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่าย หรือ ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) 30% ของทุกค่ารักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป
  3. กรณีเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 กรณี หากเข้าเงื่อนไขทั้งกรณีตามข้อที่ 1 และ 2 ผู้เอาประกันจะต้องร่วมจ่ายหรือ ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) 50% ของทุกค่ารักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป


ตัวอย่าง

ผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน (IPD) 3 ครั้ง

  1. ครั้งที่ 1 เข้ารับการรักษาด้วยโรคร้ายแรง (Critical illness) ค่ารักษาพยาบาล 200,000 บาท
  2. ครั้งที่ 2 เข้ารับการรักษาการผ่าตัดใหญ่ (Major surgery) ค่ารักษาพยาบาล 300,000 บาท
  3. ครั้งที่ 3 เข้ารับการรักษาด้วยโรคร้ายแรง (Critical illness) ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท


เนื่องจากค่ารักษาทั้งหมดที่ผู้เอาประกันเข้ารับการรักษานั้นเป็นโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่ จึงไม่เข้าเกณฑ์การคำนวณเงื่อนไข Copayment ทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องร่วมจ่ายในปีถัดไป

ทั้งนี้เงื่อนไขการร่วมจ่าย Copayment โดยละเอียดจะเป็นไปตามที่ระบุในกรมธรรม์


ข้อดีของระบบ Copayment

  1. ช่วยส่งเสริมการใช้บริการทางการแพทย์อย่างเหมาะสม การมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาจะทำให้ผู้เอาประกันได้พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเข้ารับการรักษา และลดการใช้บริการที่ไม่จำเป็น โดยใช้ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้ต้องนอนโรงพยาบาล
  2. ช่วยควบคุมค่าเบี้ยประกัน เมื่อมีระบบ Copayment บริษัทประกันสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น ส่งผลให้ค่าเบี้ยประกันไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลดีต่อผู้เอาประกัน ไม่ต้องกลัวว่าเบี้ยจะปรับขึ้นเยอะ ให้ทุกคนยังสามารถเข้าถึงประกันสุขภาพได้
  3. สร้างความยั่งยืนในระบบประกันสุขภาพ การแบ่งภาระค่าใช้จ่ายระหว่างผู้เอาประกันและบริษัทประกันช่วยให้ระบบประกันมีความยั่งยืนขึ้นและสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง บริษัทประกันภัยสามารถดูแลคุณได้ต่อเนื่องในระยะยาว



หมายเหตุ

(1) เป็นวงเงินต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง

(2) ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลคู่สัญญา ทั้งนี้เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

(3) สำหรับเพศชาย อายุ 25 ปี เลือกโครงการเมืองไทย D Health เบาใจ แผน 4 ชำระรายเดือน

(4) การแถลงสุขภาพเป็นปัจจัยหนึ่งในพิจารณารับประกันภัย /พิจารณาจ่ายเงินตามสัญญาประกันภัย ทั้งนี้การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด


  1. โครงการเมืองไทย D Health เบาใจ เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัย เมืองไทย สมาร์ท โพรเทคชั่น 99/99 สัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์(N) หรือสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ ดี เฮลท์ พลัส ขึ้นอยู่กับแผนความคุ้มครองที่เลือกซื้อ
  2. เบี้ยประกันภัย สามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ทั้งนี้หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  3. สัญญาเพิ่มเติมมีระยะเวลาเอาประกันภัยและระยะเวลาชำระเบี้ยประกันภัย 1 ปี และระยะเวลาความคุ้มครองสูงสุดจะขึ้นอยู่กับกรมธรรม์หลัก และอายุสูงสุดที่บริษัทสามารถให้ความคุ้มครองได้
  4. การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  5. โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครองเงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

เลือกประเภทประกัน ที่คุณสนใจ